วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ทฤษฏีพัฒนาการ

ความหมายและความสำคัญของทฤษฏีพัฒนาการ
ทฤษฏีพัฒนาการคือ คำอธิบายที่เป็นผลสรุปจากการศึกษาพัฒนาการ และพฤติกรรมมนุษย์ ทุกทฤษฏีจัดตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อบางประการ การศึกษาทฤษฏีต่างๆ ที่เกี่ยวกับพัฒนาการ จะช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าใจลักษณะของพัฒนาการแต่ละช่วงวัย ในบทนี้จะขอเสนอทฤษฏีพัฒนาการบางทฤษฏี เพื่อประโยชน์ในการทำความเข้าใจ ทฤษฏีที่จะกล่าวถึงได้แก่
1) ทฤษฏีวุฒิภาวะ (Maturation Theories)
ทฤษฏีนี้ได้อธิบายแบบแผนการเจริญเติบโต และพัฒนาการที่แตกต่างกันไปตามอายุ โดยมีความคิดอยู่บนพื้นฐานที่ว่า พัฒนาการของมนุษย์เป็นผลมาจากพันธุกรรม ทฤษฏีนี้ได้รับอิทธิพลจากทฤษฏีวิวัฒนาการของ ชาร์ล ดาร์วิน (Charies Darwin , 1809-1882)
2) ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ (Freud’s Psychoanalytic Theory)
ทฤษฏีจิตวิเคราะห์นับได้ว่าเป็นทฤษฏีที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ โดยที่ ฟรอยด์ เป็นผู้หนึ่งที่เห็นความสำคัญของประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมในวัยเด็กว่ามีผลต่อลักษณะพัฒนาการ และบุคลิกภาพในวัยเจริญเติบโต เขาเชื่อว่า 5 ปีแรกของชีวิตจะมีความสำคัญกับพัฒนาการทางบุคลิกภาพมากที่สุด และพัฒนาการทางบุคลิกภาพเป็นไปตามลำดับขั้นตอน เรียกว่า ขั้นพัฒนาการทางเพศ
3) ทฤษฏีพัฒนาการทางจิตสังคม
อีริก อิริกสัน (Erik Erikson) เป็นนักจิตวิทยาในกลุ่มจิตวิเคราะห์ เขาสนใจทฤษฏีของ ฟรอยด์ และเป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ อีริกสันเน้นความสำคัญ ของความสำคัญและความต้องการทางจิตสังคม เขาเน้นว่าสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อพัฒนาการ โดยเฉพาะบุคคลแวดล้อม
4) ทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญา และความคิด (Cognitive Development Theory)
ผู้สร้างทฤษฏีนี้คือ นักจิตวิทยาชาวสวิส ชื่อ จีน พีอาเจต์ เขาพบว่าวิธีการคิดและการให้เหตุผลในสิ่งต่างๆของเด็กน่าสนใจมาก จึงได้ศึกษาพัฒนาการทางความคิดขึ้นในบ้าน โดยสังเกตพฤติกรรมบุตรชาย หญิงของตน
5) ทฤษฏีพัฒนาการทางจริยธรรม (Moral Development Theory)
ทฤษฏีพัฒนาการนี้ คือทฤษฏีของ ลอเรนซ์ โคลเบิร์ก เขาได้พัฒนาทฤษฏีของเขาขึ้น ทฤษฏีของ โคลเบิร์ก เป็นทฤษฏีที่มีรากฐานมาจาก ทฤษฏีของ พีอาเจต์ โคลเบิร์กได้แบ่งพัฒนาการออกเป็น 3 ระดับแต่ระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น